วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

พันธะเคมี

ความหมาย
          แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลหรือระหว่างโมเลกุลด้วยกันเอง พันธะเคมีสามารถแบ่งได้หลายประเภท เช่น  พันธะโควาเลนต์  พันธะโคออดิเนทโควาเลนต์  พันธะโลหะ  พันธะไอออนิก พันธะไฮโดรเจน ฯลฯ

พันธะเคมี     แบ่งเป็น  3 ชนิด ดังนี้
1.พันธะโคเวเลนต์ (covalent bond)เกิดจากการใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน (share) ของอะตอมธาตุอโลหะ เพื่อทำให้อะตอมแต่ละอะตอมมีมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบแปด หรือเหมือนแก๊สเฉื่อย
อะตอมที่ใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเรียกว่า อะตอมคู่ร่วมพันธะ
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  1 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะเดี่ยว เช่น ในโมเลกุลของไฮโดรเจน
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  2 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะคู่ เช่น ในโมเลกุลของออกซิเจน
ถ้าอะตอมคู่ร่วมพันธะใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน  3 คู่จะเกิดเป็นพันธะโคเวเลนต์ที่เรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุลของไนโตรเจน

ธาตุ
หมู่
จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน
จำนวนอิเล็กตรอนที่ share
F
VIIA
7
1
O
VIA
6
2
N
VA
5
3
C
IVA
4
4

การเกิดพันธะโคเวเลนท์ของน้ำ
การเกิดพันธะโคเวเลนท์ของคาร์บอนไดออกไซด์

การเกิดพันธะโคเวเลนท์ของแก๊สไนโตรเจน
2. พันธะไอออนิก (Ionic bond)  คือ พันธะที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตระหว่างไอออนบวก (cation) และไอออนลบ (anion)  อันเนื่องมาจากการถ่ายโอนอิเล็กตรอน จากโลหะให้แก่อโลหะโดยทั่วไปแล้วพันธะไอออนิกเป็นพันธะที่เกิดขึ้นระหว่างโลหะและอโลหะ ทั้งนี้เนื่องจากว่าโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชัน (ionization energy) ต่ำ แต่อโลหะมีค่าสัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (electron affinity) สูง ดังนั้นโลหะจึงมีแนวโน้มที่จะให้อิเล็กตรอน และอโลหะมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอน เช่น เมื่อโลหะเสียอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนบวก
อโลหะเมื่อรับอิเล็กตรอนก็จะกลายเป็นไอออนลบ
การเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)



  
เขียนสูตรโครงสร้างได้ดังนี้ 
 
            จะพบว่าพันธะไอออนิกมีแรงยึดเหนี่ยวที่เกิดในสาร  โดยที่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ  ให้
เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อะตอมของธาตุที่มีค่าพลังงานไอออนไนเซชันสูง
  กลายเป็นไอออนที่มีประจุบวกและประจุลบ  เมื่อไอออนทั้งสองเข้ามาอยู่ใกล้กันจะเกิดแรงดึงดูดทางไฟฟ้าที่แข็งแรงระหว่างประจุไฟฟ้าตรงข้ามเหล่านั้น  ทำให้ไอออนทั้งสองยึดเหนี่ยวกันด้วย พันธะเคมีที่เรียกว่า  “พันธะไอออนิก
            ตัวอย่างเช่น  โครงสร้างของผลึกโซเดียมคลอไรด์เป็นของแข็ง  รูปลูกบาศก์  ใสไม่มีสีในผลึก  มีโซเดียมไอออนสลับกับคลอไรด์ไอออน  เป็นแถว ๆ ทั้งสามมิติ มีลักษณะคล้ายตาข่าย โดยที่แต่ละไอออนจะมีไอออนต่างชนิดล้อมรอบอยู่  6  ไอออน  ดังรูป  2  รูป  ข้างล่างดังนี้

รูปแสดงโครงผลึกของสารประกอบโซเดียมคลอไรด์

รูปแสดงไอออนในผลึก  NaCl แต่ละไอออนถูกล้อมรอบด้วยไอออนตรงข้าม 6 ไอออน
            เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ  และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง  ดังนั้นพันธะไอออนิกจึงเกิดระหว่างธาตุโลหะ  และอโลหะได้ดี  กล่าวคือ  อะตอมของโลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนกับอะตอมของอโลหะ  แล้วเกิดไอออนบวกของโลหะ และไอออนลบของอโลหะ  ไอออนทั้งสองจะส่งแรงดึงดูดระหว่างประจุบวกและลบ  เกิดเป็นพันธะไอออนิก  และการที่โลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อโลหะ เพื่อปรับให้มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นแปด  แบบแก๊สเฉื่อย  ส่วนอโลหะรับเวเลนต์อิเล็กตรอนมานั้นก็เพื่อปรับตัวเองให้เสถียรแบบแก๊สเฉื่อยเช่นกัน  ไอออนบวกกับไอออนลบจึงดึงดูดกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าเกิดเป็นสารประกอบไอออนิก (Ionic compound) ดังนี้
 การเกิดสารประกอบแมกนีเซียมคลอไรด์ (MgCl2)  จาก Mg อะตอมและ Cl อะตอม
                เขียนสูตรโครงสร้างได้ ดังนี้

                        แมกนีเซียมอะตอม        คลอรีนอะตอม                 แมกนีเซียมคลอไรด์
  3. พันธะโลหะ  (Metallic bond)  หมายถึง แรงยึดเหนี่ยวที่ทำให้อะตอมของโลหะ อยู่ด้วยกันในก้อนของโลหะ โดยมีการใช้เวเลนต์อิเล็กตรอนร่วมกันของอะตอมของโลหะ โดยที่เวเลนต์อิเล็กตรอนนี้ไม่ได้เป็นของอะตอมหนึ่งอะตอมใดโดยเฉพาะ เนื่องจากมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ทุกๆอะตอมของโลหะจะอยู่ติดกันกับอะตอมอื่นๆ ต่อเนื่องกันไม่มีที่สิ้นสุด จึงทำให้โลหะไม่มีสูตรโมเลกุล ที่เขียนกันเป็นสูตรอย่างง่าย หรือสัญลักษณ์ของธาตุนั้นเอง
สมบัติทั่วไปของโลหะ
1.      โลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี เพราะอิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้ง่าย
2.      โลหะมีจุดหลอมเหลวสูง เพราะเวเลนต์อิเล็กตรอนของอะตอมทั้งหมดในก้อนโลหะยึดอะตอมไว้อย่างเหนียวแน่น
3.      โลหะสามารถตีแผ่เป็นแผ่นบางๆได้ เพราะมีกลุ่มเวเลนต์อิเล็กตรอนทำหน้าที่ยึดอนุภาคให้เรียงกันไม่ขาดออกจากกัน
4.      โลหะมีผิวเป็นมันวาว เพราะกลุ่มอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่โดยอิสระมีปฏิกิริยาต่อแสง จึงสะท้อนแสงทำให้มองเห็นเป็นมันวาว
5.      สถานะปกติเป็นของแข็ง ยกเว้น Hg เป็นของเหลว
6.      โลหะนำความร้อนได้ดี เพราะอิเล็กตรอนอิสระเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง
 ความซื่อสัตย์ ( Integrity ) ” ในการทำงาน

ทำไมคุณจะต้องมีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ..... ความซื่อสัตย์ในการทำงานจะส่งผลโดยตรงต่อคุณลักษณะส่วนบุคคล ( Personal Attribute) ของตัวคุณเองที่คนอื่นมองหรือรับรู้ในตัวคุณว่าเป็นคนที่มีความซื่อสัตย์หรือไม่ นอกจากนี้ยังรวมไปถึงผลต่อเนื่องไปยังหน่วยงานและองค์การของคุณเอง ทั้งนี้คุณลักษณะของความซื่อสัตย์จะมีความสำคัญและส่งผลต่อตัวคุณและต่อหน่วยงานหรือองค์การของคุณ ขอสรุปได้ดังต่อไปนี้
          1. 
การได้รับ ความไว้วางใจ จากหัวหน้างานของคุณ พนักงานที่มีความซื่อสัตย์ย่อมทำให้หัวหน้างานพร้อมและกล้าพอที่จะมอบหมายงานที่สำคัญหรือเป็นความลับของบริษัทให้กับคุณ เพราะหัวหน้าไว้วางใจตัวคุณเพราะรู้ว่างานที่มอบหมายให้ไปนั้นคุณต้องทำเสร็จและข้อมูลที่คุณทำนั้นมีความถูกต้องอย่างแน่นอน
          2. 
ความน่าเชื่อถือ ได้ของตัวคุณ คุณจะได้รับการยอมรับและการกล่าวถึงในทางที่ดีจากบุคคลรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง หรือแม้กระทั่งลูกค้าของคุณเอง เช่น ยอมรับว่าคุณมีความรับผิดชอบและความตั้งใจทำงาน เนื่องจากคุณไม่เคยที่จะขาดงานหรือมาสาย รวมทั้งข้อมูลที่คุณให้นั้นมีความถูกต้องและเป็นปัจจุบันเสมอ
          3. 
สร้างผลงาน ( Performance) ของตัวคุณ ความซื่อสัตย์ทำให้คุณมีโอกาสทำงานใหญ่หรือสำคัญ ซึ่งอาจเป็นงานที่มีผลกระทบต่อหน่วยงานหรือองค์การ โดยคุณจะมีโอกาสแสดงฝีมือการทำงานของคุณและโอกาสนี้เองย่อมจะส่งผลต่อเนื่องไปยังผลผลการปฏิบัติงาน     (Performance) และมูลค่าเพิ่ม (Added Value) ของตัวคุณเอง
          4. 
รักษาผลประโยชน์ของหน่วยงาน/บริษัท หากคุณมีความซื่อสัตย์แล้วล่ะก็ ย่อมหมายถึงคุณไม่ได้เอาเปรียบหน่วยงานและบริษัท เนื่องจากคุณทำงานอย่างเต็มที่ ได้ปฏิบัติตามระเบียบและรักษาทรัพย์สินของบริษัท และรวมถึงคุณไม่เอาความลับของบริษัทไปเปิดเผยให้คู่แข่งรับรู้ ซึ่งหมายถึงคุณกำลังรักษาผลประโยชน์ให้กับหน่วยงานและบริษัทของคุณเอง
• ตัวอย่างของการแบ่งพฤติกรรมความซื่อสัตย์ออกเป็น ระดับ ดังต่อไปนี้
ระดับ
ลักษณะพฤติกรรม
1 (ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)
•  ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความเป็นจริง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิดได้
•  หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท
•  ปฏิเสธและไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น โดยมักจะอ้างถึงผู้อื่นอยู่เสมอ
•  ละเมิดระเบียบหรือกฎของบริษัทอยู่เสมอ
2 (ต่ำกว่ามาตรฐาน ที่กำหนด)
•  ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทบ้างเป็นบางครั้ง
•  ตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัทเท่าที่จำเป็น
•  ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของบริษัทเป็นบางครั้ง
3 (ตามมาตรฐาน ที่กำหนด)
•  รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย •  ดูแลและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของบริษัทอยู่เสมอ •  ไม่นำทรัพย์สินของบริษัทมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว •  ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของบริษัทอยู่เสมอ
4 (สูง/เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด)
•  ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้นได้
•  ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
•  ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท
•  ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการทำงานของตนเอง
5 (สูง/เกินกว่า มาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก)
•  แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นพนักงานในองค์กรทำผิดระเบียบหรือกฎของบริษัท
•  ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงานและในวิชาชีพของตน
•  นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อให้การทำงานประสพผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด


         ดังนั้น ความซื่อสัตย์จึงเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถด้านหนึ่งที่คุณเองไม่ควรละเลยหรือเพิกเฉย คุณควรเริ่มสำรวจตัวเองว่าคุณมีความซื่อสัตย์ในการทำงานหรือไม่ และอยู่ในพฤติกรรมระดับไหน ทั้งนี้ขอให้คุณเปิดใจพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนตนเองให้มีความซื่อสัตย์ในการทำงาน ซึ่งคุณเองอาจลืมหรือคิดไม่ถึงว่าพฤติกรรมความซื่อสัตย์ของตัวคุณเองนั้นจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ปรากฏต่อสายตาของผู้อื่นและบุคคลรอบข้าง และจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงผลประโยชน์ที่หน่วยงานและองค์การจะได้รับ